สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 ต.ค. 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,825 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,845 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,601 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,579 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.35
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,103 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,894 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,028 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 134 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,286 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,369 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 83 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,896 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,980 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 84 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,091 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,175 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 84 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4830
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ประจำเดือนตุลาคม 2561 ว่าจะมีผลผลิต 487.759 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 491.517 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.76 จาก
ปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2561/62 ณ เดือนตุลาคม 2561 ว่าผลผลิต ปี 2561/62 มี 487.759 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2560/61 ร้อยละ 0.76 การใช้ในประเทศมี 488.471 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.24 การส่งออก/นำเข้ามี 49.734 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.45 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 145.208 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.49
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา กัมพูชา จีน กายานา ปารากวัย ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ปากีสถาน และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ กินี  อิหร่าน อิรัก
เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ กานา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 405-410 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากตันละ 400-405 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากช่วงนี้อุปทานข้าวในประเทศมีจำกัด เพราะการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูนาปรังเพิ่งสิ้นสุดลง ขณะที่คาดว่าผลผลิตข้าวฤดูใหม่ (mini autumn-winter) ที่กำลังออกสู่ตลาดในเร็วๆ นี้
มีผลผลิตลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากประสบกับภาวะน้ำท่วมที่เป็นผลกระทบมาจากเขื่อนแตกใน สปป.ลาวเมื่อเดือน
ที่ผ่านมา ทำให้มีผลผลิตข้าวในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Delta region) ได้รับความเสียหายบางส่วน ขณะที่วงการค้ากำลังติดตามความเคลื่อนไหวของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งต้องการนำเข้าข้าวจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
          ในการประมูลนำเข้าข้าวขาว 25% (well – milled long grain white rice) จำนวน 250,000 ตัน
(the government – to – private)  ของรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 มีบริษัทจากเวียดนาม 2 ราย
ยื่นเสนอราคาในการประมูล คือ บริษัท The Vietnam Southern Food Corporation (Vinafood 2) โดยเสนอราคา
ที่ตันละ 427.68 ดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 15,000 ตัน (lot 4 in Tabaco) และบริษัท The Vietnam Northern Food Corporation (Vinafood 1) ซึ่งเสนอราคาที่ตันละ 427.50 ดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 14,000 ตัน (lot 5 in Iloilo and Bacolod) โดยคาดว่าทั้งสองบริษัทจะชนะการประมูลในครั้งนี้ตามที่ได้ยื่นเสนอ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          อินโดนีเซีย
          รองประธานาธิบดี Jusuf Kalla กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่จะนำเข้าข้าวในช่วงนี้เพราะสต็อกข้าว
ของหน่วยงาน Bulog ยังคงมีปริมาณเพียงพอ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2.2 ล้านตัน ขณะที่ภาวะราคาขายปลีกข้าวในตลาดยังคงอยู่ในระดับทรงตัว โดยระบุว่าเงื่อนไขที่ Bulog จะนำเข้าข้าวก็ต่อเมื่อมีสต็อกข้าวต่ำกว่า 1 ล้านตัน และเมื่อราคาขายปลีกปรับตัวสูงกว่าราคาเพดาน (the price ceilings) ที่กำหนดไว้ประมาณร้อยละ 10
          นาย Jusuf Kalla ยังระบุว่า หลังจากที่ได้มีการประชุมเพื่อปรับปรุงวิธีการคำนวณผลผลิตข้าวแล้ว กระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture) ได้ปรับตัวเลขเป้าหมายผลผลิตข้าว (dry-milled rice grains) ในปีนี้ จากเดิมที่ช่วงต้นปีเคยประมาณการณ์ไว้ที่ 80 ล้านตัน ลงเหลือ 56.54 ล้านตัน
          ทางด้านสำนักข่าว Reuters รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คาดว่าในปี 2561 นี้ จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 32.4 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งต่ำกว่าที่ทางการเคยประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 48.3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะมีประมาณ 29.6 ล้านตัน และสต็อกข้าวที่มีในขณะนี้คาดว่าจะเพียงพอกับความต้องการบริโภคของปีนี้
          ทั้งนี้ คาดว่าขณะนี้หน่วยงาน Bulog มีสต็อกข้าวประมาณ 2.4 ล้านตัน ประกอบด้วยข้าวที่นำเข้าประมาณ 1.8 ล้านตัน และข้าวที่จัดหาจากเกษตรกรในประเทศประมาณ 600,000 ตัน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          มาเลเซีย
          รัฐบาลมาเลเซียกำลังพิจารณาที่จะลดการผูกขาดในการนำเข้าข้าวของหน่วยงาน Bernas (ซึ่งมีหน้าที่ในการ
นำเข้าข้าว การจัดหาและจัดจำหน่ายข้าวของรัฐ) ในปีหน้าลงไปประมาณร้อยละ 30
          สภาผู้แทนราษฎรของมาเลเซียได้รับแจ้งเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการวางแผนที่จะเห็น หน่วยงาน Bernas ยุติการผูกขาดภายในปี 2564 โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.35 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.82 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.92 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.47 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,240 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 308.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,970 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 270 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2561/62 ว่ามี 1,107.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,063.81 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 4.08 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ไนจีเรีย เกาหลีใต้ และอิหร่าน   มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 158.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 150.95 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 5.07 โดยอาร์เจนตินา ยูเครน เซอร์เบีย ปารากวัย และเม็กซิโก ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียิปต์ เวียดนาม อิหร่าน โคลัมเบีย จีน ซาอุดิอาระเบีย แอลจีเรีย มาเลเซีย เปรู บังกลาเทศ ชิลี สหรัฐอเมริกา กัวเตมาลา บราซิล และคิวบา มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 366.43 เซนต์ (4,748 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 374.36 เซนต์ (4,833 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 85.00 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2561 คาดว่า
จะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.20 ล้านตัน (ร้อยละ 4.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.57 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.56  บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.39  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.93 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.41
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,569 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,542 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,501 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (16,444 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
 

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา       
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 852.84 เซนต์ (10.31 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 878.48 เซนต์ (10.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.92
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 309.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.18 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 320.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.81 เซนต์ (20.90 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.41 เซนต์ (21.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.42


 

 
ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 40.50 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.44 บาท ลดลงจาก 41.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.73 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.77 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.94 บาท ลดลงจาก 40.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.73 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.79
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.44 บาท ลดลงจาก 40.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.73 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.82
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.08 บาท ลดลงจาก 19.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.11 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.57
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.38 บาท เพิ่มขึ้นจาก 16.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.37 บาท ลดลงจาก 36.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.47 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.28
 1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.04 บาท ลดลงจาก 48.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.80
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.89 บาท ลดลงจาก 47.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.82
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.70 บาท ลดลงจาก 44.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.68 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.52
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.64 บาท ลดลงจาก 34.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.43
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.79 บาท ลดลงจาก 48.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.80
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.64 บาท ลดลงจาก 47.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.82
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.45 บาท ลดลงจาก 44.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.68 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.53
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.39 บาท ลดลงจาก 33.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.44
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.32 เซนต์สหรัฐฯ (46.20 บาท) ลดลงจาก 142.88 เซนต์สหรัฐฯ (46.26 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.56 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.39
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.68 เยน (42.30 บาท) ลดลงจาก 157.22 เยน (44.98 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 9.54 เยน หรือลดลงร้อยละ 6.07


 

 
สับปะรด
 

 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.67 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 22.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 798.50 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 801.75 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 736.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 739.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581.50 ดอลลาร์สหรัฐ (18.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 584.25 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 427.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 429.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 791.75 ดอลลาร์สหรัฐ (25.72 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 795.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.17 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 18.86
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 78.34 เซนต์
(กิโลกรัมละ 56.84 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 78.17 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.51 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.33 บาท


 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,675 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,690 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.89
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,417 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,463 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 3.14
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 978 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 958 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.09
 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเพิ่งผ่านเทศกาลถือศีลเจ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  59.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.93 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.32  บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.78 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเพิ่งผ่านเทศกาลถือศีลเจ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.03 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.12 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.38 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ยังคงเงียบเหงา  ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  แม้ว่าจะผ่านเทศกาลถือศีลกินเจ  แต่จากตลาดหลักไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  239 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 264 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 268 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 275 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 228 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ลดลงจากตัวละ 13.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 15.38
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261  บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 330 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 299 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.16 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 – 25 ตุลาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.50 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.50
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 87.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย     จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.64 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.20 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 131.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท                                                                                                                                                   
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.63 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.82 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19 - 25 ต.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท